ตัววิ่ง

สวัสดี ตอนบ่าย.............

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 1 ความเป็นมาของการวิจัย


บทที่ 1
บทนำ
 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                   เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีบทบาทอย่างสำคัญมากต่อการเพิ่มผลผลิต เพราะเทคโนโลยีเป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ ผู้บริหารท่านใดรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ผู้บริหารท่านนั้นจะก้าวไปสู่ความสำเร็จและบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ใน ค.ศ. 1965  โจแอน วูดเวิร์ด (Joan Woodward) ได้ศึกษาองค์การผลิตสินค้าจำนวน 100 แห่ง ในประเทศอังกฤษโดยได้ชี้ให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี โครงสร้างและความสำเร็จขององค์การ โครงสร้างองค์การเป็นสิ่งสำคัญในอันที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จขององค์การ และเทคโนโลยีก็มีส่วนช่วยทำให้เกิดความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ   หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เทคโนโลยีจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างขององค์การโดยตรง ถ้าเทคโ นโลยีเปลี่ยนแปลงไป  ก็จะต้องมีการปรับโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกันด้วย ตัวอย่างเช่น องค์การที่มีโครงสร้างแบบเครื่องจักรกล (Machanistic Structure)  กับโครงสร้างแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Structure ) นั้น เมื่อรับเอาเทคโนโลยีเข้าไปใช้แล้วผลสำเร็จขององค์การที่ปรากฏอออกมาแตกต่างกัน วูดเวิร์ด ได้แบ่งประเภทของเทคโนโลยีที่ใช้การศึกษาสามกลุ่ม คือ เทคโนโลยีผลิตตามคำสั่งของลูกค้า เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตจำนวนมาก และเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตแบบกระบวนการ (ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ . หน่วยที่ 8- 15  ม.สธ. :  2536  :  62-63 )

                   โลกปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมากซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล การนำเสนอผล และการสืบค้นสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ทันสมัยจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดต่อผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ทำให้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมเครือข่ายย่อยทั่วโลกสามารถเชื่อมเข้าด้วยกัน  โดยใช้ มาตรฐานเดียวกันในการติดต่อสื่อสาร อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญ  สำหรับบุคคลในทุกวงการและทุกสาขาอาชีพ  สามารถค้นคว้าข้อมูลที่สนใจได้ทันที หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยทั่วโลก และการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลก็สามารถโต้ตอบกันได้สะดวกรวดเร็ว (กิดานันท์  มะลิทอง  2543 : 314 - 315) จากความสามารถดังกล่าว จึงก่อให้เกิดการเชื่อมโยงของกิจกรรม ด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมการเมืองและการศึกษา ดังที่ เชาวเลิศ  เลิศชโลฬาร และกอบกุล  สรรพกิจจำนง (2543 : 83) ได้กล่าวว่า "อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกด้านการศึกษา องค์กร รัฐบาล ตลอดจนหน่วยงานธุรกิจเอกชนให้สามารถทำการติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพได้ทั่วโลก"ศักยภาพของอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่มากมายสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการศึกษาได้หลายรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาที่กำลังมีบทบาทมากขึ้น   การสร้างเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอน จำเป็นจะต้องมีการศึกษาถึงความเหมาะสม ความต้องการของผู้เรียนและองค์ประกอบอื่น ๆ อีก เว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอน  เป็นสื่อการเรียนที่มีพัฒนาการที่แตกต่างกว่าพัฒนาการของสื่อชนิดอื่นทางเทคโนโลยีการศึกษา   เพราะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสื่อสารในชีวิตประจำวันของบุคคลในสังคม  ปัญหาในปัจจุบันของการศึกษาและการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอยู่ที่การขาดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถด้านการใช้งานและความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพราะการใช้อินเทอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมอย่างทั่วถึง  จากแนวคิดดังกล่าว หน่วยงาน  หรือองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็ให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมาก โดยการพัฒนาบุคลากรและตั้งหน่วยงานขึ้นมารองรับเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้แต่การบริหารของรัฐบาลก็ตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ในระดับกระทรวงศึกษาธิการจากการเริ่มต้นประกาศยุบรวมการบริหารงานในกระทรวงศึกษาธิการ และให้มีการบริหารในระดับเขตพื้นที่ โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษา ได้มีการแบ่งหน่วยงานบริหารออกเป็นกลุ่ม ทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ  กลุ่มอำนวยการ กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา  นอกจากนั้น  ได้มีการกำหนดงานขึ้นมาในรูปแบบของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้นมาในสำนักงานเขตเพื่อรองรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านการศึกษา ซึ่งผู้วิจัย เป็นบุคลากรหลักได้ปฏิบัติงานในฐานะ หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา   แต่ก็ยังไม่ชัดเจนในด้านการบริหาร เนื่องจากปัญหาด้านบุคลากร นโยบาย งบประมาณ รูปแบบและโครงสร้างการบริหาร  การวิจัยครั้งนี้  จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
                ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จะมีความสำคัญต่อการพัฒนาทั้งภายในสำนักงานและโรงเรียน ในสังกัดเพื่อใช้เทคโนโลยีใน การบริหารงาน ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อแก้ปัญหาการขาดครูและบุคลากรในการทำหน้าที่ วางแผน ผลิต และบริการทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และแก้ปัญหาด้านการศึกษา ซึ่งมีสาเหตุหลายประการเช่น การขาดแคลนบุคลากรที่ชำนาญการ ระยะทางในการติดต่อสื่อสาร การขาดสื่อและอุปกรณ์ทางการศึกษา ความสิ้นเปลืองทรัพยากร ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อให้การบริหารงาน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัด สนองต่อความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น